เรื่องเล่าจากศิษย์เก่า

10 ปีแห่งผู้นำด้านการศึกษา สู่บทบาทกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กสศ.

เครือข่ายศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ คือกลุ่มผู้นำที่ยึดมั่นในการพัฒนาเด็กในประเทศไทย และมุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพผ่านอาชีพต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ “ยีราฟ” - สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร ศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์รุ่นที่ 1 ผู้ก่อตั้ง “มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์” (Saturday School Foundation) ด้วยความต้องการให้เด็กไทยได้ค้นพบศักยภาพสูงสุดของตนเอง ผ่านการดึงการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในสังคม

จากเด็กไม่กล้าฝัน สู่การค้นพบเส้นทางชีวิตของตนเอง

ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์และครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงทุกคน เชื่อมั่นศักยภาพของเด็กและเยาวชนในประเทศไทย และมุ่งส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อให้พวกเขากำหนดอนาคตของตนเองได้ หนึ่งในเยาวชนที่ได้เติบโตและเลือกเดินตามเส้นทางของตนเองคือ “ตะวัน” นักเรียนที่เคยมีนิสัยชอบหนีเรียนของ “ครูเปา” – นพดล บุตรสาธร ศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่นที่ 5

เพียงอ่านได้ ก็เรียนรู้ไกลกว่าเดิม

“วันการรู้หนังสือสากล” (International Literacy Day) ตรงกับวันที่ 8 กันยายน ของทุกปี ซึ่งจัดตั้งโดยยูเนสโก (UNESCO) เพื่อเน้นความสำคัญของการรู้หนังสือทั้งในเด็ก เยาวชน ชุมชน และสังคมโดยทั่วไป ผลการทดสอบ PISA เมื่อปี พ.ศ. 2565 แสดงถึงทักษะการอ่านที่มีแนวโน้มลดลง (บีบีซี, 2566) ทำให้เห็นว่าภาวะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และการสูญเสียการเรียนรู้ (learning loss) ของเด็กไทยยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาที่ต้องแก้ไข เพื่อคงความสามารถในการเรียนรู้และเติบโตในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

วิสัยทัศน์ร่วม เชื่อมโรงเรียนกับชุมชน 

“เมื่อพูดถึงไอเดียของการให้โรงเรียนทำงานกับชุมชน ตอนแรกไม่เห็นภาพเลยค่ะ ว่ามันจะออกมาหน้าตาอย่างไร” “ครูอุมมี่” - อุมมีฮานีย์ ดีแย ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 10 ที่โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ กรุงเทพ ฯ ผู้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (Collective Vision) กล่าว

เปลี่ยนความท้าทาย ให้กลายเป็นเติบโต

“ตั้งแต่เป็นครูก็รู้สึกเหมือนได้ก้าวออกจากความเคยชิน (comfort zone) ตลอดเวลา ต้องทำความรู้จักกับนักเรียน ชุมชน และบริบทของโรงเรียน ต้องเรียนรู้ว่านักเรียนแต่ละคนมีเป้าหมายชีวิตอย่างไร เรียนรู้ด้วยวิธีการไหน ค่อยๆ ต่อจิ๊กซอทีละชิ้น เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์ที่สุด” “สนุ๊ก” – พีรกานต์ ประสิทธินาวา ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 9 เล่าถึงประสบการณ์กว่า 1 ปีของเธอกับนักเรียนและชุมชนในบริเวณโรงเรียนชิตใจชื่น จังหวัดปราจีนบุรี

เครือข่ายที่เข้มแข็ง สู่การผลักดันนโยบายอย่างยั่งยืน

“ผมมองว่าถ้าเราอยากจะทำงานด้านนโยบายเราต้องมาสัมผัสกับบริบทหรือปัญหาจริง นี่คือความคาดหวังแรกตอนเป็นครูเหมือนกัน เราได้ยินเรื่องความเหลื่อมล้ำมาตลอด แต่มันเป็นนามธรรม พอได้มาอยู่กับชุมชนชาวเขา ได้คลุกคลีกับเด็กๆ ที่โรงเรียน เราก็ได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจ (กรุงเทพ) และได้เห็นตัวอย่างเรื่องความเหลื่อมล้ำจริงๆ” หนึ่งในบทบาทของ “นฬ”– ชิตะ จิรานันตรัตน์ ศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่นที่ 7 คือการเป็นผู้ประสานงานร่วมประจำประเทศไทย เครือข่าย “Global Youth Biodiversity Network (GYBN)” ซึ่งมุ่งผลักดันนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการมีส่วนร่วมของเยาวชน

ทัศนคติและความพยายาม นำพาสู่ความสำเร็จ

ทุกคนมีโอกาสประสบความสำเร็จหากเพียรพยายาม แต่หลายครั้งถูกปิดกั้นด้วย “Fixed Mindset” หรือทัศนคติแบบยึดติด จึงคิดว่าเกิดมามีความสามารถเพียงเท่านี้และไม่เห็นภาพความก้าวหน้า หากไม่เคยเห็นตัวอย่างความพยายาม การเติบโต และความสำเร็จ นักเรียนอาจรู้สึกปิดกั้นและไม่พัฒนาศักยภาพของตนเอง “ครูมิ้นท์” - นลพรรณ นันทิวาวัฒน์ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 9 ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ที่โรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม จังหวัดนครปฐม คือหนึ่งในคนที่มีความเชื่อว่า “หากเรามีความเพียรพยายาม กล้าลองผิดลองถูกอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถพัฒนาตนเองได้” และครูมิ้นท์ตั้งใจว่า จะพัฒนานักเรียนเพื่อเป็นตัวอย่างให้เพื่อนๆ ได้เห็นว่า “เราเอง ก็สามารถพัฒนาได้”

พลังแห่งความเป็นแม่ – แรงบันดาลใจจากศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์

“เนื่องในวันแม่ปีนี้ เตยอยากให้แม่ทุกคนได้กลับมาชื่นชมตนเอง ว่าเราทำได้ดีแค่ไหนในการหล่อเลี้ยงชีวิตหนึ่งขึ้นมา” “ไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไร จะซาบซึ้งขอบคุณเราหรือไม่ก็ตาม ขอให้แม่ทุกคนภูมิใจในความเป็นแม่และหันกลับมาดูแลจิตใจของตัวเอง เพราะถ้าแม่ไม่มีความสุข ลูกก็อาจจะไม่มีความสุขเช่นกัน ทัศนคติของเราเป็นสิ่งที่ลูกรับรู้และสัมผัสได้" ‘เตย’ - นสวรรณร์ โพธิ์สุวรรณ์ ศิษย์เก่าฯ รุ่นที่ 3 ที่ปัจจุบันได้สวมบทบาทเป็นคุณแม่ กล่าวด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม

สร้างการเปลี่ยนแปลง ด้วยการไม่หยุดทำในสิ่งที่รัก

ศิษย์เก่าแต่ละคนมีทักษะและความรู้ที่หลากหลาย เช่น การบริหารจัดการ การตั้งบริษัท ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้รู้จักอาชีพมากขึ้นหรือกลายเป็นอาชีพของเขาในอนาคต รวมถึงทักษะอื่นๆ ที่คุณครูอาจจะรู้ แต่ไม่มีเวลาสอน หากศิษย์เก่ามาช่วยกันน่าจะปิดช่องว่างตรงนี้ได้” ‘น้ำกรอง’–ชลนภา เหลืองรังษี ศิษย์เก่าโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 6 สะท้อนถึงความเชื่อที่ว่าพลังของศิษย์เก่าทีช ฯ สามารถส่งเสริมการศึกษาไทยเพื่อครูและนักเรียนได้จริงๆ และน้ำกรองเป็นหนึ่งในนั้น ผ่านการจัดกิจกรรม workshop เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา