ทุกการ
เปลี่ยนแปลง
มีเรื่องราว

รวบรวมเรื่องเล่าจากห้องเรียน
โดยคุณครูทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และสมาชิก
ในชุมชนของเรา ข่าวสาร และกิจกรรม

ทุกการ
เปลี่ยนแปลง
มีเรื่องราว

รวบรวมเรื่องเล่าจากห้องเรียน
โดยคุณครูทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และสมาชิก
ในชุมชนของเรา ข่าวสาร และกิจกรรม

ทุกการ
เปลี่ยนแปลง
มีเรื่องราว

รวบรวมเรื่องเล่าจากห้องเรียน
โดยคุณครูทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และสมาชิก
ในชุมชนของเรา ข่าวสาร และกิจกรรม

ติดตามข่าวสารการศึกษา

ร่วมทำเพื่อความยั่งยืน: พัฒนาการศึกษากับภาครัฐและเอกชน

ผู้ปกครองหย่าร้าง ทำให้เด็กต้องย้ายที่อยู่อาศัยบ่อยหรือต้องอยู่กับตายาย รวมไปถึงเรื่องยาเสพติด นี่คือตัวอย่างปัญหาที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปราจีนบุรีต้องการแก้ไข เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาที่เสมอภาคให้เด็กไทย และพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปพร้อมกัน ล่าสุด มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และอบจ. ปราจีนบุรี ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงเพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาด้านวิชาการสำหรับเด็กนักเรียน และการจัดให้มีครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงเข้าไปปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลาสองปีในสามโรงเรียนภายใต้สังกัด อบจ.

ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์จับมือฟอร์ด เตรียมพื้นฐานเด็กไทยสู่อนาคต กับโครงการ Future Ready

ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การศึกษาต้องช่วยเสริมสร้างทักษะที่สำคัญให้แก่เด็กและเยาวชน ให้สามารถตอบรับกับความต้องการในตลาดแรงงาน ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์จึงริเริ่มโครงการ “การศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต” หรือ Future Ready ให้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาได้เรียนรู้บริบทตลาดแรงงานจริง เพื่อเป็นแนวทางการเรียนรู้และการสอนทักษะสำคัญที่นำไปใช้ได้

เรื่องเล่าจากห้องเรียน

เปิดโลกอาชีพ จุดประกายฝันเยาวชน

"วันทักษะเยาวชนโลก" (World Youth Skills Day) มีขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้สามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสังคม ผ่านการส่งเสริมโอกาสเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพและการใช้ชีวิตให้กับเยาวชน

จากฟีดแบคนักเรียน สู่การยกระดับการเรียนการสอน

การสอนให้นักเรียนรู้ได้ง่าย ถูกใจ และมีกำลังใจในการเรียน ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการเรียนที่มีชีวิตชีวา เป็นความฝันของคุณครูหลายคน แต่สิ่งเหล่านั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากครูไม่ได้เปิดใจและเปิดพื้นที่รับฟัง "ฟีดแบค" จากนักเรียน ซึ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนภัทรญาณวิทยา จังหวัดนครปฐม การเก็บข้อมูลความคิดเห็น หรือ "ฟีดแบค" ได้ถูกนำมาใช้และเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการมีช่องทางให้นักเรียนสื่อสาร และการเปิดใจเพื่อพัฒนาตนเองของคุณครู ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพและบรรยากาศห้องเรียนที่เข้าอกเข้าใจกัน

เพราะสิ่งแวดล้อมที่ดี หมายถึงความเหลื่อมล้ำที่ลดลง

"ผมยังต้องอยู่ในโลกนี้ต่อไป จึงอยากให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี อยากให้มันดูน่าอยู่ขึ้นในอนาคต" เสียงจากท็อป สิทธิศักดิ์ วรรณทอง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปักธงชัยชุณหะวัณวิทยาคาร จังหวัดนครราชสีมา ทำให้เราฉุกคิดถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โรงเรียนของท็อปเพิ่งได้รับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ หรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งนับเป็นเครื่องมือการเรียนรู้สำคัญสำหรับนักเรียนในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

“Class ชวนคุย” ทำความรู้จักนักเรียนในบริบทท้าทาย

ความท้าทายของโรงเรียน คือความจำเป็นต่าง ๆ ของครอบครัวนักเรียน ที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง "ครูบี" นภัสสรร์ สวยสด ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 10 ของทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ แบ่งปันเรื่องราวจากประสบการณ์ที่ได้เข้าไปสอนในโรงเรียน ที่นี่ นักเรียนหลายคนมีปัญหาจากทางบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการที่พ่อแม่แยกทางกัน ปัญหาความยากจน หรือแม้กระทั่งยาเสพติด ทำให้หลายคนขาดเรียนหรือออกจากระบบการศึกษาไป ในฐานะ "ครูคนใหม่" ในโรงเรียนนี้ ครูบีมองว่าการชักชวนให้เด็ก ๆ ยังเห็นความสำคัญของการศึกษา คือสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก เธอจึงเลือกทุ่มเทเวลาในการเตรียมการสอนของตัวเอง เพื่อให้บทเรียนกระชับ นักเรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายและจัดสรรเวลาเพื่อออกแบบการสอนแนว "Class ชวนคุย"

เปลี่ยนความท้าทาย ให้กลายเป็นพลังพัฒนา

"ปกติแล้ว ครูคนอื่นมองนักเรียนกลุ่มนี้ว่าเงียบ ถามอะไรไม่ค่อยตอบและไม่ค่อยเข้าร่วมกิจกรรม แต่อิ๋มมองว่าเขามีศักยภาพที่ไม่ได้เอาออกมาใช้ ถ้าได้โอกาสลองน่าจะทำได้" "อุ๋มอิ๋ม" อาลดา สิงหามาตย์ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 10 เล่าถึงหนึ่งในความท้าทายหลังจากเข้าโรงเรียนไม่นาน นั่นคือการพานักเรียนในประจำชั้น 5 คน เข้าประกวดนำเสนอโครงงานโรงเรียนคุณธรรมซึ่งจัดโดยมูลนิธิยุวพัฒน์ ประกอบไปด้วยการทำโครงการ การนำเสนอโครงการ และการตอบคำถาม

ครูร้านกาแฟ

ตามทฤษฎีความเป็นผู้นำของทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ การค้นหา "ที่ยืนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง" จะทำให้การส่งเสริมการศึกษาเพื่อเด็กทุกคนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตัวอย่างของการนำทฤษฎีนี้ไปใช้ คือ เรื่องราวของ ฟร้อง-ณัฏฐา ริมฝาย ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 9 ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่า การค้นหาที่ยืน สามารถสร้างความเป็นผู้นำให้แก่คุณครูในโครงการ ฯ และส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับนักเรียนได้อย่างไร

เรื่องเล่าจากศิษย์เก่า

10 ปีแห่งผู้นำด้านการศึกษา สู่บทบาทกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กสศ.

เครือข่ายศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ คือกลุ่มผู้นำที่ยึดมั่นในการพัฒนาเด็กในประเทศไทย และมุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพผ่านอาชีพต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ “ยีราฟ” - สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร ศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์รุ่นที่ 1 ผู้ก่อตั้ง “มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์” (Saturday School Foundation) ด้วยความต้องการให้เด็กไทยได้ค้นพบศักยภาพสูงสุดของตนเอง ผ่านการดึงการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในสังคม

จากเด็กไม่กล้าฝัน สู่การค้นพบเส้นทางชีวิตของตนเอง

ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์และครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงทุกคน เชื่อมั่นศักยภาพของเด็กและเยาวชนในประเทศไทย และมุ่งส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อให้พวกเขากำหนดอนาคตของตนเองได้ หนึ่งในเยาวชนที่ได้เติบโตและเลือกเดินตามเส้นทางของตนเองคือ “ตะวัน” นักเรียนที่เคยมีนิสัยชอบหนีเรียนของ “ครูเปา” – นพดล บุตรสาธร ศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่นที่ 5

เพียงอ่านได้ ก็เรียนรู้ไกลกว่าเดิม

“วันการรู้หนังสือสากล” (International Literacy Day) ตรงกับวันที่ 8 กันยายน ของทุกปี ซึ่งจัดตั้งโดยยูเนสโก (UNESCO) เพื่อเน้นความสำคัญของการรู้หนังสือทั้งในเด็ก เยาวชน ชุมชน และสังคมโดยทั่วไป ผลการทดสอบ PISA เมื่อปี พ.ศ. 2565 แสดงถึงทักษะการอ่านที่มีแนวโน้มลดลง (บีบีซี, 2566) ทำให้เห็นว่าภาวะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และการสูญเสียการเรียนรู้ (learning loss) ของเด็กไทยยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาที่ต้องแก้ไข เพื่อคงความสามารถในการเรียนรู้และเติบโตในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

วิสัยทัศน์ร่วม เชื่อมโรงเรียนกับชุมชน 

“เมื่อพูดถึงไอเดียของการให้โรงเรียนทำงานกับชุมชน ตอนแรกไม่เห็นภาพเลยค่ะ ว่ามันจะออกมาหน้าตาอย่างไร” “ครูอุมมี่” - อุมมีฮานีย์ ดีแย ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 10 ที่โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ กรุงเทพ ฯ ผู้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (Collective Vision) กล่าว

เปลี่ยนความท้าทาย ให้กลายเป็นเติบโต

“ตั้งแต่เป็นครูก็รู้สึกเหมือนได้ก้าวออกจากความเคยชิน (comfort zone) ตลอดเวลา ต้องทำความรู้จักกับนักเรียน ชุมชน และบริบทของโรงเรียน ต้องเรียนรู้ว่านักเรียนแต่ละคนมีเป้าหมายชีวิตอย่างไร เรียนรู้ด้วยวิธีการไหน ค่อยๆ ต่อจิ๊กซอทีละชิ้น เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์ที่สุด” “สนุ๊ก” – พีรกานต์ ประสิทธินาวา ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 9 เล่าถึงประสบการณ์กว่า 1 ปีของเธอกับนักเรียนและชุมชนในบริเวณโรงเรียนชิตใจชื่น จังหวัดปราจีนบุรี

เครือข่ายที่เข้มแข็ง สู่การผลักดันนโยบายอย่างยั่งยืน

“ผมมองว่าถ้าเราอยากจะทำงานด้านนโยบายเราต้องมาสัมผัสกับบริบทหรือปัญหาจริง นี่คือความคาดหวังแรกตอนเป็นครูเหมือนกัน เราได้ยินเรื่องความเหลื่อมล้ำมาตลอด แต่มันเป็นนามธรรม พอได้มาอยู่กับชุมชนชาวเขา ได้คลุกคลีกับเด็กๆ ที่โรงเรียน เราก็ได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจ (กรุงเทพ) และได้เห็นตัวอย่างเรื่องความเหลื่อมล้ำจริงๆ” หนึ่งในบทบาทของ “นฬ”– ชิตะ จิรานันตรัตน์ ศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่นที่ 7 คือการเป็นผู้ประสานงานร่วมประจำประเทศไทย เครือข่าย “Global Youth Biodiversity Network (GYBN)” ซึ่งมุ่งผลักดันนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการมีส่วนร่วมของเยาวชน